Ads 468x60px

About Me

ภาพถ่ายของฉัน
นายภุชงค์ วงศ์แก้ว เอก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ห้อง 2 รหัส 53125460247

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเลี้ยงไก่พม่า

อุ้ยเสี่ยวป้อ

เเจ้แกาะกลาง

เทคนิคการเลี้ยงไก่สายเลือดพม่านั้น เป็น ที่ยอมรับกันในทุกวันนี้ว่า ไก่ที่เลี้ยงออกชนกันตามสนามต่างๆ ทั่ว ประเทศ เป็นไก่ลูกผสมและมีสายเลือดไก่พม่าเกิน 50 %ด้วยกัน ส่วนจะมีเลือดพม่ามากแค่ไหนนั้น บ้างน้อยบ้างมากก็แล้วแต่สูตรของใครของมันว่ากันไป บางคนก็มีสายเลือดพม่าเกิน 50%ขึ้นไปซึ่งส่วนมากจะเก่ง บางคนต่ำกว่า 50 %ลงมา การเลี้ยงไก่พม่าบางตัวก็ดูไม่รู้ว่าเป็นไก่ไทยแท้หรือลูกผสมกันแน่ ไก่พม่าหรือไก่สายเลือดพม่าเดิมทีก็เล่นกันทางภาคเหนือของประเทศ ไทยซะเป็นส่วนใหญ่ เท่าที่ผมรู้เขาเลี้ยงกันไม่นาน ปล้ำ 2-3 ครั้งก็นำออกชนกันแล้ว ไม่ปล้ำมากอันเพราะจะทำให้ไก่ซ้ำ เหมือนการเลี้ยงไก่ทางภาคกลาง กว่าจะออกชนต้องปล้ำไม่น้อยกว่า 8-9 อันขึ้น การเลี้ยงไก่พม่าทางภาคเหนือเขาเลี้ยงกันไม่นานก็ออกชน กะให้แข็งในสังเวียน พอตีไปได้1-2 เที่ยว ไก่ก็เริ่มแข็งและตีราคาแพงได้ ดังนั้นการเลี้ยงไก่พม่าหนุ่มๆ จึงมีสถิติชนะหลายไฟท์ติดต่อกัน เท่า ที่สอบถามคนเลี้ยงไก่พม่าดู เขาบอกว่าถ้าเลี้ยงนานหรือปล้ำมากมันจะ กรอบ ยิ่งฟิตซ้อมหนักจะทำให้ เนื้อตัวของมันตึง ไม่ค่อยตีไก่ ซึ่งตอนแรกๆ ผมก็ไม่เชื่อ แต่จากการเลี้ยงไก่พม่ามาหลายตัว ปรากฏว่าไก่พม่า ตัวที่มีฝีตีนดีๆ พอฟิตจัดเข้ามันจะไม่ค่อยตีไก่ พอปล่อยให้เดินกรง เล่นฝุ่นเล่นดิน จับมาปล้ำใหม่ ปรากฏว่ากลับ ตีดีเหมือนเดิม ซึ่งผมได้ทดลองหลายครั้งหลายตัวก็มีผลคล้ายกัน ดังนั้นเทคนิคการเลี้ยงไก่พม่า ควรทำดังนี้
1. การออกกำลังกาย ควรให้ปฏิบัติดังนี้ - บินกล่อง - วิ่งสุ่ม - ปล่อยกรงกว้างๆ และมีคอนให้บิน แต่อย่าให้สูงมากนัก 
2. การลงนวม ต้องดูนิสัยไก่ บางตัวไม่ชอบและไม่ควรลงนวมบ่อย ให้เหมาะสมควร 7-10 วันต่อครั้ง 
3. การล่อ ต้องดูนิสัยไก่ หากไม่จำเป็นจริงๆ เช่นออกกำลังโดยวิธีอื่นไม่เอา จึงค่อยใช้วิธีล่อ เพราะไก่พม่า ไม่ชอบให้คู่ต่อสู้อยู่สูงกว่า 
4. การลงขมิ้น หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรลง อาจจะลงครั้งแรกทั้งตัวสัก 1 ครั้ง ก็น่าจะพอ หลังจากนั้น หากยังอยากลงก็ควรทาเฉพาะใบหน้าและหน้าอกก็พอ นอกจากนี้มีข้อควรจำสำหรับการเลี้ยงไก่พม่า หรือไก่ที่มีสายเลือดพม่าตั้งแต่ 50 % ขึ้นไปคือ 1. อย่าปล้ำหรือลงนวมกับคู่ต่อสู้ที่เป็นไก่ถ่าย เพราะหากมันถูกตีเจ็บมันจะเข็ดและพาลดีดไก่ไปเลย 2. อย่าปล้ำหรือซ้อมคู่มากเกินไป 5-6 ยก ก็น่าจะพอ โดยครั้งแรกหาคู่ต่อสู้ใหม่ๆ เหมือนกัน ผิวพรรณดีกว่า อย่าหาญตี มิฉะนั้นอาจต้องมานั่งเสียใจ 3. ไก่พม่า ถ้าหัวปีกเริ่มโรย หรือขนปีกเคลื่อนขยายหรือเริ่มถ่าย หรือขนหมดมัน ไม่ควรนำออกตี เพราะมันจะอยู่ในช่วงเริ่มหลุดถ่าย ใจน้อย และหนีง่าย 
4. ไก่พม่า เวลาซ้อมหากเจอคู่ต่อสู้ตีตัว ตีเข้าหน้าอุดสามเหลี่ยมและหนอกคอ ควรรีบจับยอม มิฉะนั้นคราวต่อไปมันจะเข็ดและดีดไก่ เพราะแผลฝาก 
5. การเล่นไก่พม่า ควรเล่นในช่วงที่มันกำลังสดและมีอายุชนขวบแล้วดีที่สุด เพราะจิตใจมันจะ มั่นคงกว่าตอนที่เป็นหนุ่ม 8-9 เดือน 
ไก่พม่าหลักๆก็มีเท่านี้แหละครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น