Ads 468x60px

About Me

ภาพถ่ายของฉัน
นายภุชงค์ วงศ์แก้ว เอก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ห้อง 2 รหัส 53125460247

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิธี ดูสกุลไก่พม่า

วิธี ดูสกุลไก่พม่า นี่เป็นหัวข้อที่ผู้เขียนลืมมานานว่าจะเขียนหลายครั้งแต่ก็ลืม..วันนี้เลยขอ อธิบายสั้น ๆ เพื่อมือใหม่จะได้หัดเรียนรู้ครับ เกี่ยวกับไก่พม่า

ไก่พม่าดั้งเดิมนั้น มีลักษณะที่เด่นชัดเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ไก่ชนที่เหมือนไก่ทั่วไป เพราะถือเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่สืบเชื้อสายมายาวนาน มีพันธุกรรมที่โดเด่นชัดเจน ดังนั้นไก่พม่าที่สกุลสูง ๆ บางท่านอาจละเลยลักษณะสำคัญไปจนทำให้การพัฒนาของเราผิดพลาดขาดทิศทาง ยิ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าไก่พม่าเลือดสูงไม่้อาจจะครองความยิ่งใหญ่ในสังเวียนได้ ในขณะที่พม่าลูกผสมสามารถยืนได้อย่างทรนง ดังนั้นพม่าที่ชนกันในปัจจุบันจึงเรียกว่าร้อยละ 90 เป็นลูกผสม

เมื่อ ลูกผสมครองเมือง..เราในฐานะคนพัฒนาคนเลี้ยงก็ต้องดูออกว่าสกุลลุนชาติของ พม่าตัวไหนเลือดเข้มตัวไหนเลือดไม่เข้ม ..เพื่อจะพิจารณาต่อยอดได้ลูก ..เพราะถ้าเชื้อพม่าน้อยไปลีลาชั้นเชิงก็แปรเปลี่ยนไปมากทีเดียว..ดังนั้น ท่านก็ต้องถามตัวเองว่าชอบแบบไหน..อะไรคือสิ่งที่เราต้องการพัฒนา
เจ้าโป๊ะเเตก


เมื่อเราได้ไก่พม่ามา 1 ตัว เราก็โปรดพิจารณาว่าไก่พม่าที่เราได้มาสกุลสูงเพียงใด โดยมีข้อพิจารณาดังนี้นะครับ
1. ดูรูปทรง ถ้ารูปทรงเป็นไก่หางหกอกตั้ง มีแนวโนมไปทางไก่พม่ามากครับ พวกนี้จะจับไม่ยาว ลักษณะลำตัวกลม ๆ หน่อยครับ (ยกเว้นการยืนของแม่สะเรียงนะครับ)
2. ดูนิสัย ถ้าเปรียวมาก ชอบนอนที่สูง แสดงว่ามีเชื้อไก่พม่าสูงครับ
3. ดูน้ำขน ถ้าน้ำขนมันวาวแสดงว่าเลือดพม่า ขนพม่าแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่มีขนดก และกลุ่มที่มีขนน้อยครับ แต่ที่เหมือนกันคือนำขนจะวาว
4. ดูลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกความเป็นพม่าสูงคือ เล็บดำ เดือยดำ อันนี้คือลักษณะไก่พม่าเลือดสูงโดยแท้
5. ดูใบหางจะเป็นใบหางก้านใหญ่กระดกขึ้นและโค้งลงพองาม ปลายหางไม่แหลมเล็ก ถ้าหางตรง ๆ แบบไทยเราก็สันนิษฐานก่อนว่าลูกผสม ปลายหางแหลมยิ่งลูกผสม ชัดเจน (ยกเว้นลักษณะหางของแม่สะเรียงนะครับ)
6. ดูตาและดวงตา จะสดใสลอยกลอกกลิ้ง ถ้าตาลึกไม่ใช่ไก่พม่าครับ
7. ดูสีขนตามตัว ถ้ามีสีตามตัวแทรกเป็นสีเดียวกับสีสร้อยปรากฎชัดเจนแสดงว่าเลือดพม่าสูงครับ

อันนี้คือลักษณะเบื้องต้นของการดูสกุลไก่พม่าเลือดสูง ๆ ครับ

การเลี้ยงไก่พม่า

อุ้ยเสี่ยวป้อ

เเจ้แกาะกลาง

เทคนิคการเลี้ยงไก่สายเลือดพม่านั้น เป็น ที่ยอมรับกันในทุกวันนี้ว่า ไก่ที่เลี้ยงออกชนกันตามสนามต่างๆ ทั่ว ประเทศ เป็นไก่ลูกผสมและมีสายเลือดไก่พม่าเกิน 50 %ด้วยกัน ส่วนจะมีเลือดพม่ามากแค่ไหนนั้น บ้างน้อยบ้างมากก็แล้วแต่สูตรของใครของมันว่ากันไป บางคนก็มีสายเลือดพม่าเกิน 50%ขึ้นไปซึ่งส่วนมากจะเก่ง บางคนต่ำกว่า 50 %ลงมา การเลี้ยงไก่พม่าบางตัวก็ดูไม่รู้ว่าเป็นไก่ไทยแท้หรือลูกผสมกันแน่ ไก่พม่าหรือไก่สายเลือดพม่าเดิมทีก็เล่นกันทางภาคเหนือของประเทศ ไทยซะเป็นส่วนใหญ่ เท่าที่ผมรู้เขาเลี้ยงกันไม่นาน ปล้ำ 2-3 ครั้งก็นำออกชนกันแล้ว ไม่ปล้ำมากอันเพราะจะทำให้ไก่ซ้ำ เหมือนการเลี้ยงไก่ทางภาคกลาง กว่าจะออกชนต้องปล้ำไม่น้อยกว่า 8-9 อันขึ้น การเลี้ยงไก่พม่าทางภาคเหนือเขาเลี้ยงกันไม่นานก็ออกชน กะให้แข็งในสังเวียน พอตีไปได้1-2 เที่ยว ไก่ก็เริ่มแข็งและตีราคาแพงได้ ดังนั้นการเลี้ยงไก่พม่าหนุ่มๆ จึงมีสถิติชนะหลายไฟท์ติดต่อกัน เท่า ที่สอบถามคนเลี้ยงไก่พม่าดู เขาบอกว่าถ้าเลี้ยงนานหรือปล้ำมากมันจะ กรอบ ยิ่งฟิตซ้อมหนักจะทำให้ เนื้อตัวของมันตึง ไม่ค่อยตีไก่ ซึ่งตอนแรกๆ ผมก็ไม่เชื่อ แต่จากการเลี้ยงไก่พม่ามาหลายตัว ปรากฏว่าไก่พม่า ตัวที่มีฝีตีนดีๆ พอฟิตจัดเข้ามันจะไม่ค่อยตีไก่ พอปล่อยให้เดินกรง เล่นฝุ่นเล่นดิน จับมาปล้ำใหม่ ปรากฏว่ากลับ ตีดีเหมือนเดิม ซึ่งผมได้ทดลองหลายครั้งหลายตัวก็มีผลคล้ายกัน ดังนั้นเทคนิคการเลี้ยงไก่พม่า ควรทำดังนี้
1. การออกกำลังกาย ควรให้ปฏิบัติดังนี้ - บินกล่อง - วิ่งสุ่ม - ปล่อยกรงกว้างๆ และมีคอนให้บิน แต่อย่าให้สูงมากนัก 
2. การลงนวม ต้องดูนิสัยไก่ บางตัวไม่ชอบและไม่ควรลงนวมบ่อย ให้เหมาะสมควร 7-10 วันต่อครั้ง 
3. การล่อ ต้องดูนิสัยไก่ หากไม่จำเป็นจริงๆ เช่นออกกำลังโดยวิธีอื่นไม่เอา จึงค่อยใช้วิธีล่อ เพราะไก่พม่า ไม่ชอบให้คู่ต่อสู้อยู่สูงกว่า 
4. การลงขมิ้น หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรลง อาจจะลงครั้งแรกทั้งตัวสัก 1 ครั้ง ก็น่าจะพอ หลังจากนั้น หากยังอยากลงก็ควรทาเฉพาะใบหน้าและหน้าอกก็พอ นอกจากนี้มีข้อควรจำสำหรับการเลี้ยงไก่พม่า หรือไก่ที่มีสายเลือดพม่าตั้งแต่ 50 % ขึ้นไปคือ 1. อย่าปล้ำหรือลงนวมกับคู่ต่อสู้ที่เป็นไก่ถ่าย เพราะหากมันถูกตีเจ็บมันจะเข็ดและพาลดีดไก่ไปเลย 2. อย่าปล้ำหรือซ้อมคู่มากเกินไป 5-6 ยก ก็น่าจะพอ โดยครั้งแรกหาคู่ต่อสู้ใหม่ๆ เหมือนกัน ผิวพรรณดีกว่า อย่าหาญตี มิฉะนั้นอาจต้องมานั่งเสียใจ 3. ไก่พม่า ถ้าหัวปีกเริ่มโรย หรือขนปีกเคลื่อนขยายหรือเริ่มถ่าย หรือขนหมดมัน ไม่ควรนำออกตี เพราะมันจะอยู่ในช่วงเริ่มหลุดถ่าย ใจน้อย และหนีง่าย 
4. ไก่พม่า เวลาซ้อมหากเจอคู่ต่อสู้ตีตัว ตีเข้าหน้าอุดสามเหลี่ยมและหนอกคอ ควรรีบจับยอม มิฉะนั้นคราวต่อไปมันจะเข็ดและดีดไก่ เพราะแผลฝาก 
5. การเล่นไก่พม่า ควรเล่นในช่วงที่มันกำลังสดและมีอายุชนขวบแล้วดีที่สุด เพราะจิตใจมันจะ มั่นคงกว่าตอนที่เป็นหนุ่ม 8-9 เดือน 
ไก่พม่าหลักๆก็มีเท่านี้แหละครับ

ประวัติการนำเข้า "ไก่พม่าลูกนอก"



ม้าสีหมอก
ประวัติการนำเข้า "ไก่พม่าลูกนอก" แห่งแรกของจังหวัดแพร่
          จังหวัด แพร่เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาของการนำเข้าไก่พม่าลูกนอก เมื่อย้อนอดีตกลับไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 หรือประมาณ18ปีที่แล้ว ในจังหวัดแพร่คงจะไม่มีใครที่จะไม่รู้ “กำนันหมู” ซึ่งท่านเป็นคนรุ่นแรกๆที่ได้นำเข้าไก่ชนสายพันธุ์พม่าลูกนอกเข้ามาเล่นในจังหวัดแพร ่
“เมื่อ สมัยปี พ.ศ. 2534 ตนได้มีโอกาสไปค้าขายเสื้อ-ผ้าที่ภาคเหนือ ตรง อ.แม่สาย จ.เชียงราย ก่อนหน้านั้นตนต้องเลิกเลี้ยงไก่ไปพักหนึ่งเพราะต้องทำมาหากินเป็นกิจจะ ลักษณะ และจากจุดนี้นี่เองที่เป็นเรื่องราวของไก่พม่าลูกนอกได้บังเกิดขึ้นกับตน เมื่อได้รู้จักกับพ่อค้าชาวไทยใหญ่คนหนึ่งซึ่งได้มอบไก่พม่าให้ ไก่พม่าตัวนี้มีสีขนออกโทนแดงนกกรด รูปร่างบอบบางตัวเล็ก (เรียกได้ว่า “ขี้เหร่”มาก) เมื่อนำเอาไก่ตัวนี้มาเลี้ยงตีที่ซุ้มของตัวเองยังหวัดแพร่ ไฟท์แรกออกชนที่สนามกีฬาชนไก่ของ “พ่อเลี้ยงเหมี่ยน” ปรากฏว่าได้รับชัยชนะอย่างสวยงามเป็นที่ฮือฮาของเซียนไก่เป็นอย่างมาก หลังจากนั้นตนก็ได้ติดต่อสั่งไก่พม่าจากชาวไทยใหญ่เป็นเวลาติดต่อกันหลาย ปี ไก่ตัวที่สร้างชื่อเสียงให้ตนในสมัยนั้น ยังเป็นไก่นำเข้าชื่อไอ้เต่า ไก่ตัวนี้เป็นไก่มีไอคิวดีมากเรียกได้ว่าสอนได้เรื่องมีอยู่ว่าไอ้เต่าเป็น ไก่ที่มีล ีลาหน้าโด่ๆเก่งหน้าหงอน เวลามันถอยติดสังเวียนมันมักจะไม่ค่อยย้ายตัวมันออกชอบพิงสังเวียนปล่อยให้ คู่ต่อสู้ ตีอยู่เสมอ ตอนฝึกตนได้ใช้ไม้เรียวเฆี่ยนตีไอ้เต่าเวลามันพิงสังเวียนพอไอ้เต่ารู้สึก เจ็บมันก็จ ำว่าเวลามันพิงมันจะถูกตีหลังจากนั้นไอ้เต่าเลยไม่พิงสังเวียนอีกหลังจาก นั้นได้นำมั นเดินสายตีไปยัง จังหวัดลำปาง ในสมัยนั้นบ่อนที่ดังที่สุดคงจะไม่สนามชนไก่บ้านพระบาท จ.ลำปาง และได้ประกบตีกันที่เดิมพัน110,000บาท ชนกับไก่ลำพูนซึ่งเป็นไก่ป่าก๋อย และไอ้เต่าก็ไม่ทำให้ตนต้องผิดหวังชนะ2อันกะหน่อย 

ประวัติความเป็นมาของไก่เหล่าป่าก๋อย

เจ้าบัวขาว
ประวัติความเป็นมาของไก่เหล่าป่าก๋อย หมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย    ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นแหล่งสถานที่ให้กำเนิดสายพันธุ์ไก่ชนมีเชิงกัดจิก ไม่เลือกที่ คาบบ่าตีตัว (ก้าบจัด)ทรหดอดทน และที่สำคัญตีแรงตีหนัก (ฆ้อนหนัก)  ซึ่งไก่ชนสายพันธุ์นี้ให้ชื่อเรียกตามหมู่บ้านว่า "ไก่เหล่าป่าก๋อย" เล่ากันว่า    พ่อหลวงสุพจน์ วิจิตร    ผู้ใหญ่บ้านป่ารกฟ้า ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง  เมื่อประมาณ 30ปีก่อน เมื่อพ่อหลวงสุพจน์ ได้ถูกเกณฑ์ทหาร เข้าประจำการในเขตภาคตะวันออก    หลังจากปลดประจำการแล้วก็ได้นำไก่ชนของเมืองจันทน์กลับมาด้วย เป็นไก่สีเหลืองเลาตัวผู้ มีลีลาการชนคล้ายๆ ไก่เชิงตราด คือ มัดล็อค มุด ตีตัว และลอดทะลุหลัง   ส่วนตัวเมียเจ้าของไม่ให้เพราะห่วงสายพันธุ์        เมื่อกลับมาถึงบ้านป่ารกฟ้า ก็ได้นำมาพัฒนาผสมพันธุ์กับไก่พื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ เดินหน้าจิกหลังตีทั่วตัว ไม่ต้องใช้เชิงก่อน   เป็นไก่รอยเล็ก น้ำหนักราว1.8-2 กิโลกรัม         ปรากฎว่าลูกครอกแรกๆถือว่าใช้ได้ แต่พอต่อๆมาก็เริ่มใช้ไม่ได้ เพราะสาเหตุการผสมครอกหรือสายเลือดเดียวกันทุกๆปี ทำให้เกิดเลือดชิด     พ่อหลวงสุพจน์จึงกลับไปเมืองจันทน์อีกครั้ง เพื่อเสาะหาสายพ่อพันธุ์เหลืองเลาตัวเก่ง   และก็ได้กลับมาหลายตัว เมื่อผสมไปได้หลายปี ปรากฎว่าลูกไก่ที่ออกมามีโครงสร้างตามสายพันธุ์และที่สำคัญมีชั้นเชิงดีกว่าพ่อและแม่พันธุ์เดิม  คือได้เชิงดีทั้งจากพ่อและแม่  โดยเฉพาะเชิงเดินหน้าตีและจิกหลังตีทั่วตัว ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเด่นของไก่สายพันธุ์นี้     ต่อมาก็มีนักเล่นไก่ต่างหมู่บ้านได้นำสายพันธุ์ไก่นี้ไปเลี้ยงและพัฒนาต่อเนื่อง
    หมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย    ก็เป็นอีกหมู่บ้านที่ได้รับสายพันธุ์ไก่มาจากพ่อหลวงสุพจน์    และไก่สายพันธุ์จิกกัดไม่เลือกที่ จากบ้านเหล่าป่าก๋อยนี้เอง ที่ถูกนำออกชนและสร้างชื่อเสียง จนขนานนาม ไก่สายพันธุ์นี้ว่า "ไก่เหล่าป่าก๋อย"   
เจ้าขุนทอง

    ยังเล่าต่อกันอีกว่าในการพัฒนาไก่เหล่าป่าก๋อยในรุ่นต่อๆมา มี กำนัน แก้วปาปวน     อดีตกำนัน3สมัย แห่งตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง ได้เป็นผู้อนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนเหล่าป่าก๋อยเช่นกัน โดยได้สายพันธุ์มาจากพ่อหลวงสุพจน์  
    คุณเชียร สันกำแพง   ประธานชมรมอนุรักษ์ไก่ชนเมืองเหนือ จังหวัดลำพูน ได้เล่าถึงความเป็นมาว่า    เมื่อประมาณปี 2526-2527 สมัยนั้นเซียนไก่ชนไม่มีใครเล่นไก่ชนที่มีเชิงลักษณะไก่เหล่าป่าก๋อย แต่จะนิยมเล่นไก่สายพันธุ์พม่ามากกว่า  คุณเชียร เล่าต่อไปว่า แต่เดิมนั้นพ่อหลวงสุพจน์และกำนันแก้ว ปาปวน เป็นผู้เลี้ยงและพัฒนาพันธุ์  แต่ก็ยังไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจกับไก่ชั้นเชิงนี้เท่าไร จนกระทั่ง    นายเดช ปาปวน ชาวหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย ได้เหล่ากอสายพันธุ์ไก่นี้มาจากพ่อหลวงสุพจน์ และนำออกชนตามสนามชนไก่ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง และได้รับชัยชนะ   สร้างชื่อเสียงให้กับไก่ชนสายพันธุ์นี้เป็นอย่างมาก   สมัยนั้นเล่ากันว่า เซียนทางภาคเหนือพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "ไก่อะไรจิกกัดทั้งตัว"  ไก่ตัวที่สร้างชื่อเสียงให้นายเดช ปาปวน เป็นอย่างมาก เช่น ไอ้สาวิดีโอ ,ไอ้สาน้อย     และนายเดช ปาปวน มีเพื่อนที่สนิทและเล่นไก่ด้วยกัน คือ นายจำลอง ชัยปัน หรือที่รู้จักกันในนาม นายยืน  ชาวบ้านหนองผ้าขาว ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน   ก็เป็นผู้ได้รับเหล่ากอและพัฒนาสายไก่เหล่าป่าก๋อย หลังจากนายเดช ปาปวน เสียชีวิตแล้ว
    นายจำลอง ชัยปัน หรือ นายยืน เปิดเผยว่า เดิมที่ตนและนายเดช ปาปวน เป็นเพื่อนสนิทกันมาก นายเดชเป็นชาวบ้านเหล่าป่าก๋อยและเป็นหลานของกำนันแก้ว ปาปวน      หลังจากที่นายเดช เสียชีวิต ตนเองได้นำไก่สายพันธุ์ของนายเดชมาเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์สืบต่อมา     ไก่ชนที่ทำชื่อเสียงให้กับ นายจำลอง ชัยปัน หรือนายยืน  ได้แก่ ไก่ชื่อไอ้แจ้ ซึ่งเป็นพ่อพันธุ์และให้ลูกเก่งออกมาหลายตัว คือ ไอ้ทหารเรือ ไอ้แดงน้อย ไอ้แดงหน้าง่อม  ตัวที่นายยืน พูมใจที่สุดก็คือ ไอ้หนุ่มเหนือ คาราบาว หรือไอ้สามแสนสาม  ชนชนะไก่พม่าที่สนามชนไก่ เวล จังหวัดนครปฐม  เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2543  ไก่ตัวนี้เป็นไก่ลูกเพาะของตน เกิดที่ บ้านหนองผ้าขาว หรือบ้านวังสวนกล้วย         ไก่ชนไอ้หนุ่มเหนือคาราบาว ตนเองเพาะเลี้ยงและแบ่งกับครูรัน โดยครูรันเลี้ยงและออกชนในเขตภาคเหนือ จากนั้นครูรันได้ขายต่อให้กับคุณเลิศพงศ์ อดิศร หรือทนายก้อง
ต้นธารก๋อยเงินล้านอีกสายของเมืองไทย

    ไอ้หนุ่มเหนือคาราบาว มาจากสายพันธุ์ไอ้แจ้ ซึ่งเป็นพ่อพันธุ์สายหลักของนายยืน  ไอ้แจ้เป็นพ่อไก่ให้ลูกเก่ง  และไอ้แดงหน้าง่อมก็เป็นไก่เก่ง ลูกของไอ้แจ้  และเป็นพ่อของไอ้หนุ่มเหนือคาราบาว    ส่วนแม่พันธุ์ ชือ แม่ยักษ์  ซึ่งให้ลูกเก่งๆหลายตัว เช่น ไอ้สองหมื่นเก้า ,ไอ้เขียววัว,ไอ้องครักษ์จั่น ,ไอ้จิ้งหรีดทอง ,ไอ้แมงจอน เป็นต้น
(คัดย่อจาก วารสารสื่อปศุสัตว์ ฉบับปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๓ )
ผู้สร้างตำนานเหล่าป่าก๋อยและผู้ร่วมอุดมการณ์เผยแพร่พัฒนาจนมาเป็นเหล่าป่าก๋อยที่โด่งดัง 
พ่อหลวงพจน์    พ่อหลวงพจน์หรือคุณสุพจน์ วิจิตร     ผู้ที่คนยกย่องว่าเป็น"รากเหง้าของไก่เหล่าป่าก๋อยพ่อหลวงสุพจน์มีความสนใจและรักไก่ชนตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่ออายุครบเกณฑ์ทหาร ก็ถูกคัดเลือกเข้าประจำการและมีโอกาสรู้จักกับเพื่อนทหารจากจังหวัดตราดที่ชื่นชอบไก่ชนเช่นเดียวกัน  หลังจากพ้นประจำการจึงได้นำไก่ชนจากเพื่อนทหารที่จังหวัดตราด กลับมาเลี้ยงที่บ้านเหล่าป่าก๋อย โดยได้เฉพาะพ่อไก่มาจากตราดและนำมาผสมพัฒนากับไก่พื้นบ้านเหล่าป่าก๋อย  ลูกหลานที่ได้ปรากฎว่ามีชั้นเชิงแตกต่างจากไก่เหนือทั่วไป คือ มีเชิงเข้าปีก มุดมัด เอี้ยวเลี้ยวคอบน กอดกดขี่ มีบ้างบางตัวคาบบ่าตีตัว   และในรุ่นถัดๆมาจึงคัดผสมให้มีลงเหล่าคาบบ่าตีตัวเป็นลักษณะเฉพาะ  แต่ต่อมาพ่อหลวงสุพจน์มีภาระกิจมาก จึงไม่มีเวลาให้กับการพัฒนาสายพันธุ์ไก่ชนอีก  และได้มอบสายพันธุ์ไก่เชิงคาบบ่าตีตัวให้กับผู้อื่นต่อไป เช่น นายยืนบ้านท่าไม้ ,ครูนิ่ม ,นายเสริฐ ,ครูเลิศบ้านเหล่าป่าก๋อย  รวมทั้งครูนิรันดร์แห่งวังสวนกล้วย เป็นต้นกำนันแก้ว ปาปวน  อดีตกำนันสามสมัยแห่งตำบลน้ำดิบ ได้นำสายพันธุ์ส่วนหนึ่งมาจากพ่อหลวงสุพจน์ มาเลี้ยงและพัฒนา  จนตกทอดถึงหลานชายคือ นายเดช ปาปวน

นายเดช ปาปวน    นักเลงไก่ชน ผู้นำไก่ชนป่าก๋อยออกชนตามสังเวียน จนเริ่มเป็นที่รู้จัก เป็นดังผู้เปิดประตูให้ไก่ชนเหล่าป่าก๋อยออกมาจากส่วนลำใยเพื่อผงาดในสังเวียน นายเดชเกิดและโตที่บ้านเหล่าป่าก๋อย จากเป็นคนที่ชอบไก่ชนจึงได้ทำการสะสมไก่เก่งๆในหมู่บ้านไว้หลายตัว และหลายตัวที่มีอยู่ก็คือไก่เชิงคาบบ่าตีตัว สายพันธุ์พ่อหลวงสุพจน์   เมื่อนายเดชนำไก่เหล่าป่าก๋อยเข้าบ่อนมักจะได้รับชัยชนะเสียส่วนใหญ่ ประกอบกับลีลาชั้นเชิงแตกต่างจากไก่เหนือทั่วไป จึงเป็นที่ติดตาต้องใจของผู้พบเห็นเชิงชน  ซึ่งมีทั้งกัดบ่าตีตัว ตีไม่เลือกที่ กัดกระชากถอนขน ทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บรำคาญ      ด้วยชัยชนะและเอกลักษณ์คาบบ่าตีตัว กัดตีไม่เลือกที่ จึงมีผลให้ทุกคนรู้จักไก่เหล่าป่าก๋อยแพร่หลายมากขึ้น      ถือว่านายเดช ปาปวนเป็นผู้ทำให้วงการไก่ชนรู้จักกับไก่ชนอีกสายพันธุ์ คือ ไก่เหล่าป่าก๋อย         แต่นายเดชเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อยังอายุน้อย   ช่วงชีวิตสั้นนักเกินกว่าจะเห็นสายพันธุ์นี้ ผงาดและรู้จักทั่วไปในวงการไก่ชนทั้งประเทศ

คุณบุญเลิศ อินบุรี (อาจารย์เลิศ)    ครูเลิศกล่าวว่า ต้นกำเนินมาจาก ไก่พ่อหลวงสุพจน์ และคุณเสริฐ เอามาเลี้ยงไปชนที่เชียงใหม่และชนะมาตลอด ก็เลยขอแบ่งซื้อจากคุณเสริฐมาเลี้ยง  เป็นไก่สีเขียวแต่พอเพาะพันธุ์ไปเรื่อยๆ ลูกหลานที่ได้มีสองสี คือ เหลืองและเขียว ปากสีขาว หงอนไม่ใหญ่ไม่เล็กได้สัดส่วนสวยงาม ผิวหนังปั้นขาไม่ค่อยแดง หางส่วนมากจะออกดอกๆ แข็งเป็นเกล็ดสองแถวเสียส่วนใหญ่ ข้อเสียของไก่เหล่าป่าก๋อย คือ ปีกแห้งกรอบ ลักษณะเชิงตีจะเป็นไก่ก้าบหลัง คือ ตีตัว มุดมัด จิกกระชากขน    แต่ถ้าหัวระเบิดอันตรายมากหมายถึงยื่นหัวแลกแข้งเพื่อเข้าวงใน ถ้าเดินช้าด้วย โอกาสจะเกิดแผลที่หัวมีมาก แต่ถ้าไปเจอเชิงที่เหมือนกันและสู้ไม่ได้ ก็ลงลายหัวเหมือนกัน   ดังนั้น เขาจึงไม่ค่อยปล้ำกันเอง เพราะมักจะเสียไก่ทั้งคู่  เชิงที่ถือว่าดีที่สุดของไก่เหล่าป่าก๋อยจะต้องเข้าปีกแล้วก้าบหลัง เดินหน้า   ไก่ป่าก๋อยจะแพ้ทางเชิงม้าล่อ

ครูเลิศเปรยถึงไก่ตัวเก่งชื่อไอ้แก้ว ซื้อมาในราคา ๕,๐๐๐ บาท จากเชียงใหม่ และต่อมาได้มอบให้คุณแอ๊ด คาราบาว ไปการคัดเลือกพ่อพันธุ์ อาจารย์เลิศ กล่าวว่า ต้องเป็นไก่ที่ชนชนะมาแล้ว คางเคราสีเหลือง หางดอก ส่วนแม่พันธุ์จะมีแม่เดิมเป็นหลักซึ่งเป็นเหล่าที่มีเชิงก้าบ   หัวดอก ตกกระตามตัว  แม่สีนี้จะให้ลูกเก่งค่อนข้างมากในแต่ละครอก  อาจารย์เลิศ  กล่าวเพิ่มเติมว่า ไก่ในซุ้มที่เก่งก็จะมีสีเขียวเลา ออกชนมา2ปีแล้ว ปีละ3-4ไฟท์      แล้วก็มีอีกตัวของครูนิ่ม คือ เจ้าแก้วฟ้า     

ไก่ชื่อ เจ้าแก้วฟ้า ภาพจากหนังสือนิตยสาร(เซียนไก่ชน)ยอดไก่ชน ฉบับพิเศษ ไก่คาบบ่าตีตัว 

คุณอุปถัมน์ ใจธัญ    (ครูนิ่ม)    ครูนิ่มกล่าวว่า ไก่ที่ทำชื่อเสียงให้กับเหล่าป่าก๋อยตัวหนึ่ง เป็นไก่ลาย เจ้าของคือ พ่อหลวงเทวราชหรือพ่อหลวงนวย เป็นไก่ที่กัดบ่า ตีตัว ตีแรง ปีแรกตีได้ไม่กี่ครั้งก็พัก พอปีที่สองก็ออกชนที่เชียงใหม่ โดยมีครูเลิศและนายเดชเป็นผู้นำออกตี     ครูนิ่มกล่าวว่า ได้สายพันธุ์มาจากพ่อหลวงนวย โดยตัวที่ได้มามีเชิงกัดบ่า ตีตัว เป็นหลัก      ไก่สายพันธุ์ของพ่อหลวงนวยได้ขยายตัวขยายพันธุ์กว้างขวาง และมีเชิงชนคาบบ่าตีตัว        ในรุ่นถัดๆมาก็มีคนนำสายพันธุ์ของพ่อหลวงพจน์มาผสมสายเลือดกันอีก   ไก่เก่งๆ เชิงคาบบ่าตีตัวได้ออกนำไปตีที่เชียงใหม่ ในใช้ชื่อ เหล่าป่าก๋อย ก็เลยเรียกติดกันว่าไก่เหล่าป่าก๋อย     ในสายตาของครูนิ่ม ไก่ป่าก๋อยมีรูปร่างล่ำเตี้ย รอยเล็กประมาณ2กก. นานๆจะมี 2.5-2.6 กก.สักตัว   สีจะคล้ายกับไก่เหลืองหางขาวของภาคกลาง  มักจะมีหัวดอกหรือด่าง หางดอก ไหล่ดอก เขาดอก เป็นตกกระตามตัว ปากขาว ปากเหลือง อาจมีปากดำบ้าง  แข้งส่วนใหญ่จะเป็นเกล็ดสองแถว แข้งเหลี่ยมๆ  ข้อเสียคือ ถ้าอายุไม่ดีกระดูกไม่ดี ตีไปเรื่อยจะซึม  จะให้ดีต้องรอชนขวบจึงเลี้ยงออกชนจะดีกว่า ชั้นเชิงป่าก๋อยเป็นไก่ไม่เลือกทีตี จิกจับได้ตีกระชากขน ซึ่งไก่เหนือ(พม่า)จะไม่ชอบ    แต่ไก่เหล่าป่าก๋อยจะไปแพ้ทางไก่เชิงม้าล่อ และไก่เหล่าป่าก๋อยด้วยกันพ่อหลวงนวย ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง ลำพูน เล่าถึงไก่เหล่าป่าก๋อยว่า เป็นไก่ลีลาจิกหลัง ไล่บี้ประชิดตัวทำให้ไก่พม่าที่นิยมกันในภาคเหนือ ไม่มีจังหวะโยก ถอย หลบ ได้ทัน   เมื่อมาพบกันก็พลัดกันแพ้ชนะ จึงเป็นคู่ปรับที่เหมาะสมกันมาก    พ่อหลวงนวยเล่าต่อว่า ต้นตระกูลเหล่าป่าก๋อยของพ่อหลวงนวย ได้นำแม่พันธุ์มาจากหนองยวง ส่วนพ่อพันธุ์มาจากห้วยไฟซึ่งเป็นไก่พื้นเมืองภาคเหนือ มีลักษณะเชิงชนไม่เลือกที่ตีชนชนะมาหลายครั้ง ได้นำมาเป็นพ่อพันธุ์หลัก  จากนั้นได้แม่พันธุ์มาจากพ่อหลวงสุพจน์ ที่บ้านป่ารกฟ้า ซึ่งแม่พันธุ์มีลักษณะเชิงจิกหลัง ถอนขน เข้าปีก ล็อค มุดมัด ตีลำตัว บุกไล่ประชิดตัว  ปัจจุบันไก่ของหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อยแพร่กระจายออกจากหมู่บ้านไปมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาสายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา และเก่งฉกาจฉลาดดีขึ้นกว่าในอดีต เป็นที่รู้จักของนักเลงไก่มากขึ้นคุณจำลอง ชัยปัน หรือนายยืน เปิดเผยว่า เดิมที่ตนและนายเดชปาปวน เป็นเพื่อนสนิทกันมาก นายเดชเป็นคนบ้านเหล่าป่าก๋อย และเป็นหลานชายของพ่อกำนันแก้วปาปวน อดีตกำนันตำบลน้ำดิบสามสมัย หลังจากที่นายเดช เสียชีวิต ตนได้นำไก่สายพันธ์ของนายเดชมาเลี้ยงไวและพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบัน  นายยืนเล่าต่อไปว่า ไก่ชนที่ตนเพาะเลี้ยงและทำชื่อเสียง เช่น ไอ้แจ้ ไอ้ทหารเรือ ไอ้แดงน้อย ไอ้แดงหน้าง่อม   ตัวที่สร้างความพูมใจให้มาก ก็คือ ไอ้หนุ่มเหนือ คาราบาว หรือไอ้สามแสนสาม  ชนชนะไก่พม่าที่สนามชนไก่เวล นครปฐม  เป็นไก่ลูกเพาะของตน เกิดที่บ้านหนองผ้าขาวหรือบ้านวังสวนกล้วย  โดยตนเองเพาะแบ่งกับครูรัน  จากนั้นครูรันได้นำไปเลี้ยงแล้วออกชนในเขตภาคเหนือ จากนั้นครูรัน ก็ขายให้กับทนายก้องหรือคุณเลิศพงศ์ อดิศร

   ไอ้หนุ่มเหนือคาราบาว   เป็นหลานไอ้แจ้ ซึ่งเป็นพ่อพันธุ์หลักของตน เป็นลูกของไอ้แดงหน้าง่อม ส่วนแม่ไก่คือ แม่ยักษ์ ซึ่งให้ลูกเก่งมากหลายตัว เช่น ไอ้สองหมื่นเก้า ไอ้เขียววัว ไอ้องค์รักษ์จั่น ไอ้จิ้งหรีดทอง และไอ้แมงจอน เป็นต้น  

คลิบวีดีโอ


ลูกไก่สายพันธุ์ พม่า





ไก่หนุ่มดาวรุ่ง

ก๋อย+พม่า 1
พม่า+ง่อน 
พม่า+ง่อน  นน. 2.8
พม่า+ก๋อย 3

พ่อพันธุ์ เเม่พันธุ์

พ่อพันธุ์หลัก ก๋อย 100 %

พ่อพันธุ์หลัก ก๋อย 100 %

พ่อพันธุ์หลัก พม่า 100%

เเม่พันธุ์หลัก พม่า+ง่อน

เเม่พันธุ์หลัก พม่า+ง่อน

เเม่พันธุ์หลัก พม่า+ง่อน

เเม่พันธุ์หลัก พม่า 100%

เเม่พันธุ์หลัก พม่า+ง่อน

แม่พันธุ์หลัก ก๋อย 100%

เเม่พันธุ์หลัก พม่า+ง่อน

เเม่พันธุ์หลัก พม่า+ง่อน

เเม่พันธุ์หลัก พม่า+ง่อน

เเม่พันธุ์หลัก พม่า+ง่อน

เเม่พันธุ์หลัก พม่า+ง่อน

แม่พันธุ์หลัก ก๋อย 100%